กลับสู่หน้าก่อน

ใช้เวลาอ่านประมาณ 7 นาที

เด็กติดเกม เป็นยังไง และทำอย่างไรดี

By แพทย์หญิงนพวรรณ ศรีวงศ์พานิช |Thailand |26 เมษายน 2023

สาระน่ารู้
blog-images

เด็กติดเกม เป็นยังไง และทำอย่างไรดี

เด็กติดเกม เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน โดยเฉพาะช่วงปิดเทอม หรือเรียนออนไลน์ เด็กมักจะเล่นเกมเป็นเวลานาน และมีโอกาสติดเกมสูงขึ้น เด็กบางคนเล่นเกมจนไม่ยอมนอน ไม่กินข้าวตามเวลา ไม่ทำกิจกรรมกับเพื่อนหรือครอบครัว ลักษณะของเด็กติดเกม

  • เล่นเป็นเวลานาน เล่นไม่รู้จักเวลา ไม่สามารถควบคุมตนเองให้เล่นในเวลาที่กำหนดได้ หมกมุ่นอยู่กับการเล่นเกมจนรบกวนกิจกรรมอื่นในชีวิตประจำวัน

  • มีอาการหงุดหงิด ฉุนเฉียว อาละวาด ทำลายข้าวของ กระวนกระวาย กระสับกระส่าย วิตกกังวล หรือซึมเศร้า หากไม่ได้เล่นเกมมีความต้องการที่จะเล่นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ใช้เวลาในการเล่นนานขึ้นเรื่อย ๆ รู้สึกอยากเล่นเกมตลอดเวลา

  • หยุดหรือลดการเล่นเกมได้ยาก

  • แยกตัว ไม่ทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัวหรือสังคม สูญเสียความสนใจในงานอดิเรกที่เคยทำหรือนันทนาการอื่น ๆ

  • เล่นเกมมากต่อเนื่อง แม้ทราบว่ามีผลกระทบ

  • หลอกพ่อแม่ ผู้ปกครองหรือผู้บำบัดรักษาเกี่ยวกับการเล่นเกม

  • เล่นเกมเพื่อหลีกหนีความรู้สึกผิด หมดหนทางหรือวิตกกังวล

  • มีผลกระทบต่อการเรียน การทำงาน และหน้าที่ความรับผิดชอบ มีพฤติกรรมที่ไม่ดีเพื่อให้ได้เล่นเกม เช่น ขโมยเงิน โกหก ทะเลาะกับคนรอบข้าง

สาเหตุที่เด็กติดเกม

เกิดจากหลายสาเหตุร่วมกันมีการศึกษาพบว่าคนที่ติดเกมจะมีวงจรการทำงานของสมองที่ผิดปกติเหมือนคนที่ติดสารเสพติด

  • โรคทางจิตเวช ได้แก่ โรคสมาธิสั้น โรคบกพร่องในทักษะการเรียน (LD) โรคดื้อต่อต้าน/เกเร โรคซึมเศร้า วิตกกังวล หรือโรคอารมณ์สองขั้ว มีโอกาสที่จะติดเกมได้บ่อยขึ้น

  • ได้แรงเสริมทางบวกจากการเล่นเกม เมื่อเล่นเกมชนะ ได้คะแนนหรืออันดับที่ดี เด็กจะอยากเล่นเกมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในเด็กที่มีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ อยากได้การยอมรับจากเพื่อนหรือคนอื่น

  • การเลี้ยงดูแบบไม่มีการฝึกระเบียบวินัย ไม่มีกฎกติกา ทำให้เด็กควบคุมตนเองได้ไม่ดี หยุดเล่นเกมยาก อยากเล่นมากขึ้นเรื่อย ๆ จนส่งผลกระทบต่อหน้าที่ความรับผิดชอบ การเรียน กิจวัตรประจำวัน

  • ปัญหาครอบครัวที่ทำให้เด็กมีความเครียด เด็กจึงเล่นเกมเพื่อระบายความเครียด

  • ปฏิสัมพันธ์ในครอบครัว ขาดการใช้เวลาคุณภาพหรือทำกิจกรรมอื่นร่วมกันในครอบครัว ขาดต้นแบบที่ดี เช่น พ่อแม่ก็ติดมือถือ ไม่มีระเบียบวินัย

ปัญหาที่พบจากการติดเกม

  • ผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย ได้แก่ ปวดหัว ปวดท้อง ปวดเมื่อย อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น ในบางรายเมื่อนั่งเล่นเกมนาน ๆ ไม่มีการขยับเคลื่อนไหวของร่างกาย การไหลเวียนของเลือดจะไม่ดี มีโอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำที่ขา และปอดจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ ระหว่างที่เล่นเกมเด็กมักรับประทานอาหารไปด้วย และไม่มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวหรืออกกำลังกายส่งผลให้เกิดโรคอ้วนได้

  • ผลต่อพัฒนาการ และพฤติกรรม ได้แก่ พัฒนาการด้านต่าง ๆ ล่าช้า ไม่ค่อยมีสมาธิ อดทนรอคอยไม่ค่อยได้ ขาดการฝึกทักษะทางสังคมกับเพื่อนหรือผู้อื่น ทำให้มีปัญหาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือพ่อแม่ ผู้ปกครอง เช่น ทะเลาะกัน แยกตัวออกจากกลุ่ม เลียนแบบพฤติกรรมก้าวร้าว ความรุนแรงจากสื่อ

  • ผลต่อการเรียน เด็กใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเล่นเกม จึงไม่ได้ทำการบ้านหรือทบทวนบทเรียน ทำให้ผลการเรียน การสอบเพื่อการศึกษาต่อของเด็ก หรือการประกอบอาชีพไม่เต็มตามศักยภาพ มีผลกระทบต่อการทำงานและคุณภาพประชากรของประเทศ

  • ผลต่อครอบครัว ปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวลดลง อาจมีปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว

blog-images

แนวทางการป้องกันและช่วยเหลือเด็กติดเกม

  • ไม่วางอุปกรณ์เล่นเกม หรือคอมพิวเตอร์ในห้องนอน หรือห้องส่วนตัวของเด็ก ควรวางไว้ในสถานที่ที่ผู้ปกครองสามารถเฝ้าดูได้

  • ไม่ให้เด็กเข้าถึงโทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์ได้ง่ายโดยไม่มีการควบคุม

  • ให้เด็กเลือกเล่นเกมที่ดี และตรวจสอบว่าเด็กเล่นเกมที่เหมาะสมกับพัฒนาการและอายุ ไม่รุนแรงก้าวร้าวหรือสื่อเรื่องทางเพศที่ไม่เหมาะสม

  • กำหนดช่วงเวลาที่ห้ามเล่นเกม เช่น ช่วงเวลาเคอร์ฟิวของการเล่นเกม ระหว่างรับประทานอาหาร เป็นต้น

  • กำหนดเวลาในการเล่นเกม วางนาฬิกาไว้ในตำแหน่งที่เด็กสามารถมองเห็นได้ชัดเจน เพื่อที่จะควบคุมให้เล่นภายในเวลาที่กำหนด

  • ทำกิจกรรมร่วมกับเด็ก เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ ออกกำลังกาย เล่นเกมที่ช่วยพัฒนาทักษะด้านภาษา การวางแผน การแก้ปัญหา เป็นต้น เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว

  • ไม่ใช้เกมเลี้ยงเด็ก หรือหยุดพฤติกรรมที่ไม่ดี เช่น เมื่อพ่อแม่จะทำงาน แต่เด็กก่อกวน หรือซน พ่อแม่จึงให้เด็กเล่นเกมเพื่อให้ตนเองสามารถทำงานได้ หรือเมื่อเด็กก้าวร้าว อาละวาด ขว้างปาสิ่งของ เลยให้เด็กเล่นเกม โทรศัพท์มือถือเพื่อหยุดพฤติกรรมดังกล่าว เป็นต้น

  • ฝึกให้เด็กสามารถควบคุมตนเองได้ โดยการฝึกระเบียบวินัย จัดตารางเวลาในการทำกิจกรรม ตั้งกติกา กำหนดระยะเวลาการเล่นเกมของเด็ก หน้าที่ความรับผิดชอบที่เด็กต้องทำ

  • ชมเชยเมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ดี และลงโทษเมื่อเด็กเล่นเกมเลยเวลาที่กำหนด เช่น งดเล่นเกม ลดเวลาในการเล่นเกม เป็นต้น

ติดเกมอย่างไรให้ได้ความรู้ 

หากพูดถึงคำว่าติดเกมขึ้นมา หลายๆ คนอาจจะคิดว่าการติดเกมเป็นเรื่องที่มีแต่ข้อเสีย แต่แท้จริงแล้ว เด็กๆ สามารถซึมซับหลากหลายทักษะ และเรียนรู้ผ่านเกมได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นการฝึกภาษา การซึมซับและเรียนรู้ภาษาของเด็กๆ ส่วนใหญ่ มักเริ่มต้นมาจากสิ่งรอบตัวอย่างเช่นการเล่นเกมที่เด็กๆ ชื่นชอบและทำอยู่ทุกวัน ด้วยเหตุนี้ LingoAce จึงคิดค้นและพัฒนาหลักสูตรสำหรับคอร์สเรียนภาษาอังกฤษสำหรับเด็ก และคอร์สเรียนภาษาจีนสำหรับเด็ก ให้ออกมาเป็นรูปแบบ การเรียนภาษาแบบ Immersive Learning ที่สามารถทำให้เด็กๆ สนุกไปกับการเรียนรู้ โดยการยกตัวอย่างสถานการณ์ในชีวิตจริง จะทำให้ผู้เรียนคุ้นเคยกับบรรยากาศและทำให้วิธีการเรียนรู้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น  

 

ในห้องเรียนที่สร้างบรรยากาศออกมาได้อย่างสมจริงของ LingoAceทั้งในคลาสเรียนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กและคลาสเรียนภาษาจีนสำหรับเด็ก นั้นคุณครูจะใช้อุปกรณ์และสื่อการสอนต่างๆ เช่น รูปภาพ วิดีโอ สิ่งของ รวมไปถึงการเคลื่อนไหวของร่างกาย มาสร้างสรรค์เป็นเกมในรูปแบบการโต้ตอบ รวมไปถึงเรื่องราวในบทเรียน ที่ใช้เป็นการ์ตูนแอนนิเมชันสุดน่ารัก พร้อมสอดแทรกภารกิจเป็นเกมสนุกๆ ให้เด็กๆ ได้ทำภารกิจเพื่อผ่านด่านไปช่วยตัวละครในสถานการณ์ต่างๆ ด้วยวิธีนี้ บรรยากาศห้องเรียนจะมีความน่าสนใจมากขึ้นอย่างแน่นอน ทำให้เด็กๆ สามารถโฟกัสและสนุกไปกับบทเรียนได้อย่างไม่มีเบื่อ อีกทั้งยังสามารถจดจำคำศัพท์ต่างๆ พร้อมซึมซับการใช้ภาษาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างสมบูรณ์แบบ 

กุรมารแพทย์ เฉพาะทางพัฒนาการและพฤติกรรม โรงพยาบาลพริ๊นซ์ สุวรรณภูมิ