กลับสู่หน้าก่อน

ใช้เวลาอ่านประมาณ 7 นาที

การเรียนออนไลน์กับเด็ก

By แพทย์หญิงนพวรรณ ศรีวงศ์พานิช |Thailand |26 เมษายน 2023

สาระน่ารู้
blog-images

การเรียนออนไลน์กับเด็ก

ข้อดีของการเรียนออนไลน์

1. เด็กและครอบครัวรู้สึกปลอดภัยจากการติดเชื้อ 

2. ครอบครัวได้ใช้เวลาอยู่ร่วมกัน มีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น

3. พ่อแม่คอยส่งเสริมและสนับสนุนลูกในด้านการเรียน เด็กอาจทำงานโดยมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น 

การเรียนออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ 
  • เด็กและครอบครัวจะต้องมีอุปกรณ์เทคโนโลยีที่พร้อม ทันสมัยและเหมาะสม 

  • โรงเรียนมีสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะกับรูปแบบออนไลน์  

  • ครูและนักเรียน รวมทั้งพ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องมีความรู้และทักษะในการใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีนั้น 

ข้อมูลจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา พบว่า ในสถานการณ์การแพร่ระบาดนี้วัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่อายุระหว่าง 18-24 ปี ร้อยละ 63 มีความวิตกกังวล ซึมเศร้า หรือทั้งสองอย่างร่วมกัน จากการศึกษาทั้งในต่างประเทศและประเทศไทย พบว่าการเรียนออนไลน์ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย สุขภาพจิต พฤติกรรมและการเรียนรู้ของเด็ก ดังนี้

ผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย
  • ปวดตา มีปัญหาด้านสายตา ปวดเมื่อย ปวดหลัง เนื่องจากต้องนั่งอยู่หน้าจอนานๆ

  • น้ำหนักเพิ่มขึ้นเนื่องจากขาดการออกกำลังกายหรือกิจกรรมการเคลื่อนไหวตามปกติเมื่อเด็กไปโรงเรียน

  • รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา พักผ่อนและนอนน้อยลง จากการบ้านที่เพิ่มขึ้น ขาดการฝึกวินัยในการเข้านอน ตื่นและรับประทานอาหารเพื่อไปโรงเรียน

ผลกระทบต่อด้านสุขภาพจิต พฤติกรรมและการเรียนรู้ของเด็ก
  • เด็กรู้สึกเบื่อ ไม่มีสมาธิ และขาดแรงจูงใจในการเรียน เนื่องจากการเรียนออนไลน์จะประยุกต์การจัดกิจกรรมและฝึกปฏิบัติการเช่นที่โรงเรียนได้ค่อนข้างยาก  หรือสภาพแวดล้อมที่บ้านไม่เหมาะสมกับการเรียนออนไลน์

  • เด็กแอบเล่นเกมในระหว่างเรียนออนไลน์ ไม่ได้ติดตามการเรียนในขณะนั้น 

  • เด็กต้องเรียนอยู่หน้าจอตลอด  มีการบ้านมากและต้องส่งครูด้วยวิธีการที่ต่างไปจากเดิมทำให้เด็กรู้สึกเหนื่อยล้า หากเรียนที่โรงเรียนเด็กสามารถขอความช่วยเหลือจากเพื่อนๆหรือครูในการส่งการบ้านได้ในบางเรื่อง 

  • การเรียนที่มีปฏิสัมพันธ์กัน สมองของเด็กจะมีการประมวลผลข้อมูลอื่นๆร่วมด้วย เช่น สีหน้าท่าทาง การสบตา ภาษากาย จังหวะและระดับของเสียงที่พูด เป็นต้น

  • เด็กขาดปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนซึ่งเป็นโอกาสที่เด็กจะได้ฝึกทักษะทางสังคม เด็กบางรายจะรู้สึกวิตกกังวลและซึมเศร้า

  • เด็กได้รับผลกระทบจากความเครียดของผู้ปกครองที่เครียดจากสถานการณ์ ปัญหาเศรษฐกิจและต้องคอยกำกับดูแลลูกในการเรียนออนไลน์โดยเฉพาะผู้ปกครองเด็กเล็ก 

  • เด็กที่ต้องสอบเข้าในช่วงชั้นต่อไป เช่น ม. 1, ม.4 หรือสอบเข้ามหาวิทยาลัย จะมีความเครียด วิตกกังวลเกี่ยวกับการสอบ รวมทั้งการวัดและประเมินผลที่จะต้องนำผลสอบไปใช้

แนวทางสำหรับพ่อแม่ในการดูแลเด็กที่เรียนออนไลน์

  • จัดตารางกิจกรรมในแต่ละวันร่วมกับลูก ได้แก่ การรับประทานอาหาร การเรียน ทำงานบ้าน พักผ่อนและออกกำลังกาย 

  • จัดสิ่งแวดล้อม มุมสงบในบ้านเป็นสถานที่เฉพาะสำหรับการเรียนเพื่อช่วยให้เด็กมีสมาธิในการเรียน 

  • ให้เด็กได้เว้นช่วงการเรียน พักจากหน้าจอเป็นระยะๆ ไปทำกิจกรรมอื่นๆบ้าง

  • ชวนลูกออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมเคลื่อนไหวต่างๆ

  • พูดคุยกับลูก ทำกิจกรรมที่สนุกร่วมกัน

  • กำกับและควบคุมในเรื่องวินัยของลูก เช่น การตื่น การรับประทานอาหาร เวลาเรียนและเข้านอนอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูก

  • ให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนในห้องเรียนในรูปแบบออนไลน์ 

blog-images

บทความโดย พญ.นพวรรณ ศรีวงค์พานิชโรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ

blog-images
เลือกคอร์สเรียนภาษาออนไลน์อย่างไร ให้เด็กๆ ไม่รู้สึกเบื่อ

เด็กๆ หลายคนอาจจะมีภาพจำการเรียนภาษาแบบเดิมๆ การเรียนภาษาที่ต้องท่องจำอยู่ตลอด และหากเรียนผ่านหน้าจอแบบออนไลน์ด้วยแล้ว การฝึกฝนแบบท่องจำในลักษณะนี้ ก็อาจจะยิ่งทวีคูณความน่าเบื่อเพิ่มขึ้นไปอีก ทำให้เด็กๆ มีทัศนคติในการเรียนภาษาที่ไม่ค่อยดีนัก LingoAceจึงคิดค้นและพัฒนาหลักสูตรสำหรับคอร์สเรียนภาษาอังกฤษสำหรับเด็ก และคอร์สเรียนภาษาจีนสำหรับเด็ก ให้ออกมาเป็นรูปแบบ การเรียนภาษาแบบ Immersive Learning ที่สามารถทำให้เด็กๆ สนุกไปกับการเรียนรู้ โดยการยกตัวอย่างสถานการณ์ในชีวิตจริง จะทำให้ผู้เรียนคุ้นเคยกับบรรยากาศและทำให้วิธีการเรียนรู้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น 

ในห้องเรียนที่สร้างบรรยากาศออกมาได้อย่างสมจริงของ LingoAceทั้งในคลาสเรียนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กและคลาสเรียนภาษาจีนสำหรับเด็ก นั้นคุณครูจะใช้อุปกรณ์และสื่อการสอนต่างๆ เช่น รูปภาพ วิดีโอ สิ่งของ รวมไปถึงการเคลื่อนไหวของร่างกาย มาสร้างสรรค์เป็นเกมในรูปแบบการโต้ตอบ รวมไปถึงเรื่องราวในบทเรียน ที่ใช้เป็นการ์ตูนแอนนิเมชันสุดน่ารัก พร้อมสอดแทรกภารกิจเป็นเกมสนุกๆ ให้เด็กๆ ได้ทำภารกิจเพื่อผ่านด่านไปช่วยตัวละครในสถานการณ์ต่างๆ ด้วยวิธีนี้ บรรยากาศห้องเรียนจะมีความน่าสนใจมากขึ้นอย่างแน่นอน ทำให้เด็กๆ สามารถโฟกัสและสนุกไปกับบทเรียนได้อย่างไม่มีเบื่อ อีกทั้งยังสามารถจดจำคำศัพท์ต่างๆ พร้อมซึมซับการใช้ภาษาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างสมบูรณ์แบบ

กุรมารแพทย์ เฉพาะทางพัฒนาการและพฤติกรรม โรงพยาบาลพริ๊นซ์ สุวรรณภูมิ