กลับสู่หน้าก่อน

ใช้เวลาอ่านประมาณ 8 นาที

Learning by doing รูปแบบการเรียนรู้ที่ให้เด็ก ๆ มีความสุขจากการลงมือทำ

By TH LingoAce Team |Thailand |26 เมษายน 2023

สาระน่ารู้
blog-images

Learning by doing รูปแบบการเรียนรู้ที่ให้เด็ก ๆ มีความสุขจากการลงมือทำ

รูปแบบการสอนทุกวันนี้เรียกได้ว่าเปิดกว้างขึ้นมาก ๆ  เด็ก ๆ ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ผ่านตำรา หรือเรียนในห้องเรียนแต่เพียงเท่านั้น แต่สามารถเรียนรู้แบบบูรณาการได้หลากหลายรูปแบบเพื่อให้ผู้เรียนรู้สึกมีความสุขและสนุกสนานไปกับการเรียนมากยิ่งขึ้น ในปัจจุบันเองมีปรัชญา ทฤษฎี หลักการ แนวคิดในการสอนหลากหลายรูปแบบให้เลือกใช้ หนึ่งในแนวคิดทางการศึกษาที่เป็นที่นิยมและคุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ท่านอาจจะเคยได้ยินผ่านหูกันมาก่อนก็คือการจัดการเรียนรู้ที่ให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำจริง หรือที่เรียกว่า Learning by doing วันนี้พี่ TIgoเลยอยากพาคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านมาทำความรู้จักกับรู้และทำความเข้าใจรูปแบบการเรียนการสอนแนวนี้มากยิ่งขึ้นกันครับ

การเรียนรู้โดยการลงมือทำคืออะไร?

เรียนรู้ผ่านการลงมือทำ คือ แนวคิดการเรียนการสอนที่สนับสนุนให้ผู้เรียนได้ลงมือกระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง ผ่านการทำการทำกิจกรรม การลงมือปฏิบัติจริงในสภาพแวดล้อมจริง ได้ฝึกคิด ฝึกทำ ฝึกปฏิบัติ ฝึกทักษะ ไปจนถึงค้นคว้าในสิ่งที่ตนเองสนใจหรือถนัดด้วยตนเอง เพื่อใช้เป็นแรงจูงใจและมีความสุขในการเรียน การเรียนการสอนในรูปแบบนี้ผู้สอนจะลดบทบาทของตัวเองในการสอนและการให้ความรู้กับผู้เรียนโดยตรงลงแล้วเปลี่ยนมาสนับสนุน เพิ่มกระบวนการและกิจกรรมที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการจะทำกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น

การเรียนแบบลงมือทำมีที่มาอย่างไร?

สำหรับแนวคิดการเรียนแบบการสอนแบบ เรียนรู้ผ่านการลงมือทำ เป็นแนวคิดที่มาจาก  จอห์น ดิวอี้ (John Dewey)  นักปรัชญาชาวอเมริกัน ที่เชื่อว่า “มนุษย์จะต้องปรับตัวเพื่อให้ชีวิตอยู่รอด” สิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญและจะ ต้องนำไปใช้เป็นแนวคิดของการจัดการศึกษา ที่ต้องเน้นฝึกให้มนุษย์แก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการกระทำ นอกจากนี้ต้องได้ฝึกปฏิบัติ ฝึกคิด ฝึกลงมือทำ ฝึกทักษะกระบวนการต่างๆประสบการณ์ที่มนุษย์พบหรือเผชิญ มีอยู่ 2 ประเภทดังนี้

  • ขั้นปฐมภูมิ เป็นประสบการณ์ที่ไม่เป็นความรู้ หรือยังไม่ได้คิดแบบไตร่ตรอง

  • ขั้นทุติยภูมิคือที่เป็นความรู้ ได้ผ่านการคิดไตร่ตรอง ประสบการณ์ขั้นแรกจะเป็นรากฐานของขั้นทุติยภูมิ

หลักการทฤษฎีเรียนผ่านการลงมือทำมีลักษณะอย่างไร?

ลักษณะสำคัญของหลักทฤษฎี Learning by doing นั้นก็แปลได้ตรงตัวตามชื่อเลย คือการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยการเรียนรู้ด้วยตนเองนี้คือการที่ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ เกิดความสัมพันธ์โดยตรงกับสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ โดยผู้เรียนจะเกิดความรู้ขึ้นได้เมื่อได้ลงมือทำ และทั้งหมดนี้เป็นหลักการปรัชญาแบบ John Dewey ซึ่ง สรุปได้ว่าคนเราจะสามารถเรียนรู้ได้ดีที่สุดจากการที่ได้ลงมือทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง 

วิธีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองได้ แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน
  • Explore การสำรวจ: เริ่มจากสำรวจตัวเองก่อนว่าสนใจสิ่งใด ชอบสิ่งไหน สำรวจสิ่งต่างๆ รอบตัวว่ามีอะไรเกิดขึ้นเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละวันบ้าง สิ่งต่างๆ รอบตัวทำงานอย่างไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง

  • Experiment การทดลอง: เมื่อได้สำรวจสิ่งต่างๆ แล้วขั้นตอนต่อมาก็คือการทดลองว่าสิ่งเหล่านั้นทำงานอย่างไร เราสามารถต่อยอดทำอะไรได้บ้าง เพื่อให้เกิดการลองลองผิดลองถูก และเรียนรู้จากความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เป็นการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในการเรียนรู้ การทดลองจะทำให้ผู้เรียนได้ซึมซับ และทำความเข้าใจกับขั้นตอนในการเรียนรู้ 

  • Learning by doing เรียนรู้จากการกระทำ: เมื่อสำรวจ ทดลอง ก็ถึงเวลาที่ได้ลงมือปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ โดยเป็นการปฏิบัติเพื่อสร้างองค์ความรู้ขึ้นมาจากการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ และการทดลอง 

  • Doing by learning การกระทำเพื่อให้เกิดการเรียนรู้: เป็นการต่อยอดจากเรียนรู้ทั้งหมด โดยการกระทำสิ่งต่างๆ ที่สัมพันธ์กับการเรียนรู้ การกระทำที่ได้มาจากการได้สำรวจ ทดลอง และเรียนรู้ด้วยตนเอง 

การเรียนแบบลงมือทำมีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร?

สำหรับประโยชน์ที่เด็กๆ จะได้รับจากการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง คือการที่เด็กๆ จะได้เรียนรู้จากการกระทำของตนเอง ได้ลองผิดลองถูกเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่มีแต่ตัวเด็กๆ เองท่านั้นที่จะสามารถเข้าใจได้ เป็นการสร้างเสริมประสบการณ์แบบที่ผู้ใหญ่ไม่สามารถหยิบยื่นให้ได้ อีกหนึ่งประโยชน์ที่สำคัญคือ เมื่อเด็กๆได้เรียนรู้ด้วยตนเอง อีกสิ่งหนึ่งที่ได้เพิ่มมาคือการได้สร้างความมั่นใจจากการลงมือทำสิ่งต่างๆ โดยความมั่นใจนี้เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่จะส่งผลดีต่อการเรียนรู้ในระยะยาวของตัวเด็กเอง

blog-images
พ่อแม่จะนำการสอนแบบลงมือทำนำไปปรับใช้ได้อย่างไร ?

การเรียนรู้ด้วยตนเองนั้นเป็นสิ่งที่พ่อแม่สามารถนำไปใช้ได้ ทั้งคุณพ่อคุณแม่ที่ส่งเด็ก ๆ เข้าโรงเรียน ใช้ดูแลเด็ก ๆ ระหว่างอยู่บ้านเรียนออนไลน์ หรือคุณพ่อคุณแม่ที่ให้เด็กเรียนแบบ Home School โดยอาจเริ่มต้นจากการทำสิ่งต่างๆ รอบตัวในชีวิตประจำวัน อย่างเช่นการล้างจาน พ่อแม่อาจจะเริ่มจากการให้ลูกยืนดู เพื่อให้เขาได้สำรวจ จากนั้นให้เขาช่วยล้างจานเพื่อให้เขาได้ทดลอง หลังจากนั้นเราก็ปล่อยให้เขาได้ทำเอง ได้ลองเก็บจากโต๊ะกินข้าว เริ่มทำขั้นตอนทุกอย่างด้วยตนเอง ให้เขาได้ค้นหาว่านอกจากวิธีการล้างจานแบบที่พ่อแม่ทำให้เขาดูนั้น เขาสามารถล้างจานด้วยวิธีอื่นอีกได้หรือไม่ ถ้าล้างจานโดยไม่ล้างน้ำเปล่าเลยจานจะสะอาดหรือเปล่า ถ้าล้างจานโดยไม่เขี่ยเศษอาหารทิ้งก่อนอ่างล้างจานจะสกปรกหรือไม่ ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวสามารถเป็นองค์ประกอบของการเรียนรู้ด้วยตนเองได้ทั้งหมด โดยที่พ่อแม่แค่คอยแนะนำแนวทางให้เด็กๆ เท่านั้นเอง 

รูปแบบการเรียนแบบนี้เรียกได้ว่าน่าสนใจไม่น้อยเลยใช่มั้ยครับ ที่ LingoAceเองก็มองเห็นถึงความสำคัญในเรื่องของการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริงเช่นเดียวกัน เราจึงออกแบบและตั้งใจปรับเปลี่ยนวิธีการสอนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ได้ซึมซับและมีส่วนร่วม และลงมือทำ บนระบบ Gamification และ Interactive ผ่านการสอนแบบ Immersive Learning และ TPR Teaching ให้ผู้เรียนเข้าใจภาษาได้อย่างเป็นธรรมชาติ ผ่านการลงมือทำ โต้ตอบในสถานการณ์จำลองกับเจ้าของภาษา สำหรับคุณพ่อคุณแม่ท่านไหนอยากให้น้อง ๆ เรียนแบบสนุก ไม่เครียด ได้ลงมือทำจริงแบบนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง Line: @lingoace หรือ ลงทะเบียนรับสิทธิ์ทดลองเรียนครั้งแรกฟรี

เกร็ดน่ารู้
ทำไมการเรียนแบบ เรียนรู้ผ่านการลงมือทำจึงได้ผล

เพราะผู้เรียนได้ลงมือกระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองในสิ่งที่สนใจและตัวเองชอบ จึงมีแรงจูงใจในการเรียนและมีความสุขในการเรียนมากกว่า  นอกจากนี้การฝึกลงมือทำยังช่วยก่อให้เกิดประสบการณ์ ความรู้ใหม่ และมั่นใจซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะส่งผลดีต่อการเรียนรู้ในระยะยาว

เรียนรู้ผ่านการลงมือทำเหมาะกับเด็กอายุเท่าไหร่

สำหรับรูปแบบการเรียนการสอนแบบลงมือทำคุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มนำไปหรับใช้ได้ดีที่สุดในช่วงวัยที่เด็ก ๆ เริ่มเข้าโรงเรียนแรียนแล้วซึ่งก็คืออายุราว ๆ 3 – 4 ปี เพราะถึงตอนนั้นเด็ก ๆ จะเริ่มเข้าใจคอนเซปต์ต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น 

ข้อควรระวังในการเรียนแบบ เรียนรู้ผ่านการลงมือทำ มีอะไรบ้าง

การจัดการเรียนรู้โดยให้เด็กได้ลงมือกระทำนั้น นั้นเป็นสิ่งสำคัญผู้สอนจะต้องสนใจธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็ก และลักษณะของกิจกรรมซึ่งควรสอดคล้องกัน พร้อมที่จะส่งเสริมให้เด็กได้ลงมือกระทำผ่านสิ่งที่เด็กถนัดหรือสนใจ

ทีมนักเขียนของเราทุกคนล้วนมีความสามารถทางด้านภาษาศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญทั้งภาษาจีนและภาษาอังกฤษ อีกทั้งยังมีประสบการณ์ทางด้านการศึกษาในระดับนานาชาติ พวกเขามีความเข้าใจในจิตวิทยา และพัฒนาการการเรียนรู้ทางด้านภาษาของเด็กๆ พวกเขาสามารถที่จะแนะนำวัฒนธรรมจีนให้กับเด็กๆ ทั่วโลก และเป็นนักเล่าเรื่องที่ดีที่สุดของ LingoAce ซึ่งจะช่วยให้ผู้ปกครองทุกท่านเข้าใจในการเรียนรู้ภาษาของพวกเด็กๆ